สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด  

"บ้านบุญฤทธิ์"  

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง จัดตั้งสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (ฉบับที่ ๑๑) สถานพยาบาลประเภท ๓ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้การดำเนินงานของทีมงานที่มีประสบการณ์ทางด้านการฟื้นฟูสมรรภาพผู้ติดยาเสพติด หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

วิสัยทัศน์ (Vision)

  เป็นเลิศด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดภาคเอกชนในภาคตะวันออก

พันธกิจ (Mission)

ให้การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบชุมชนบำบัด (TC) เพื่อให้สามารถหยุดใช้ยาเสพติด สามารถกลับไปอยู่ร่วมกับครอบครัว สังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เป้าหมาย (Goals)

ให้ผู้ใช้บริการมีสุขภาพร่างกายที่ดี สามารถกลับสู่ครอบครัว สังคม เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

ขอบเขตของการจัดบริการ

คณะทีมงานบำบัดฟื้นฟูฯ

ข้อมูลจำเพาะ : ใช้วิธีชุมชนบำบัด  (Therapeutic Community)   โดยนำองค์ความรู้และประสบการณ์มาจากองค์กรคอมมูนิต้า อินคอนโทร ประเทศอินตาลี องค์กรเดย์ทอป  ประเทศสหรัฐอเมริกา  มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎ  ระเบียบ  วัฒนธรรม และประเพณีสังคมไทย และใช้คู่มือการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model) ของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ในการดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

ประกาศจัดตั้งสถานพยาบาล

และราชกิจจานุเบกษา

กระบวนการและระยะเวลาของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

ระยะที่ 1 ระยะของการโน้มน้าวจูงใจ (ตั้งแต่แรกรับจนถึง 3 เดือน)

  การโน้มน้าวจูงใจ เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จำเป็นที่จะต้องให้ผู้เข้ารัการฟื้ฟูฯมีทัศนคติที่ดีต่อศูนย์ฟื้นฟูฯ ครอบครัว และสภาพแวดล้อม ซึ่งกิจกรรมที่ใช้ในการโน้มน้าวจูงใจของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯมีดังนี้

1.การประเมินปัญหาเบื้องต้นชี้แจงการช่วยเหลือ

2.ปฐมนิเทศ

3.จัดพี่เลี้ยง

4.จัดที่พัก

5.การซักประวัติ/ทะเบียน

6.เรียนรู้พื้นฐานในการทำกิจกรรมกลุ่มต่างๆ

ระยะที่ 2 ระยะการฟื้นฟูและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (3-6 เดือน)

หลังจากผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯผ่านกระบวนการโน้มน้าวจูงใจแล้ว ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯจะมีทัศนคติที่ดีต่อการเข้ารับการฟื้นฟูฯ มีทัศนคติที่ดีต่อครอบครัว และมีความสุขกับการได้เลิกใช้ยาเสพติด ก็จะเข้าสู่กระบวนการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านลบ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ มีพฤติกรรมในด้านบวก และสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต และสามารถนำไปใช้ในครอบครัวในสังคม อย่างเกิดประโยชน์ต่อตนเอง และบุคคลรอบข้าง

        

ซึ่งกิจกรรมรองรับในขั้นตอนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีดังนี้

        

         1.กลุ่มสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ (Motivation Interviewing)

2.กลุ่มเตรียมประชุมเช้า (Pre morning Meeting Group)

3.กลุ่มประชุมเช้า (Morning Meeting Group)

4.กลุ่มสัมมนา (Seminar Group)

5.กลุ่มระบายความรู้สึก (Encounter Group)

6.กลุ่มประชุมทั่วไป (Genaral Meeting)

7.กลุ่มสมาชิกใหม่ (Younger Member Group)

8.กลุ่มสอบถาม (Confrontation Group)

9.กลุ่มคงที่ (Static Group)

10.กลุ่มประชุมผู้ปกครอง (Parent Group) 

11.กลุ่มศาสนบำบัด (Religious Therapy)

12.กลุ่มดนตรีบำบัด (Music Therapy)

13.กลุ่มศิลปบำบัด (Art Therapy)

ระยะที่ 3 ระยะเตรียมกลับสู่สังคม (6-9 เดือน)

 ในระยะเวลาขั้นตอนการฟื้นฟูฯเตรียมกลับสู่สังคมครอบครัวจะมีส่วนร่วมในการวางแบบแผนให้กับสมาชิกเพิ่มมากขึ้น  โดยเฉพาะเรื่องของการใช้สิทธิ์ ทดลองใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวในสังคมจริงๆ (DAY OFF) ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ และครอบครัว  จะต้องกำหนดแบบแผนร่วมกันสำหรับอนาคตและเอาสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมในการทดลองใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวในสังคมจริง มาเพิ่มเติมแก้ไขให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯรู้สึกถึงความสำคัญขององค์ประกอบต่างๆในการใช้ชีวิตร่วมและเข้าใกล้สังคมแห่งความเป็นจริงเพิ่มมากขึ้น

     กลุ่มกิจกรรมที่ใช้สำหรับผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในระยะที่ 3 มีดังนี้

        1.กลุ่มให้การศึกษา/ครอบครัว (Education/Family Group)

2.กลุ่มครอบครัวบำบัด (Family Associate)


ระยะที่ 4 ระยะกลับสู่สังคม (9-12 เดือน)

  ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯเมื่อมีการปรับตัวเองให้สามารถเข้าร่วมกับครอบครัวและสังคมได้อย่างบุคคลปกติทั่วไป         จำเป็นจะต้องมีการวางแผนเพื่อที่จะเตรียมความพร้อมกัครอบครั เพื่อให้เกิดรูปแบบการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกันระหว่าง ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯกับครอบครัว ทั้งนี้ครอบครัวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีงานรองรับให้กับผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ และเป็นงานที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯสมัครใจที่จะทำและสามารถกระทำได้จริงๆ ผู้ปกครอง / สถานฟื้นฟูฯ และผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ จึงต้องร่วมกันวางแผนเพื่อให้เกิดแนวทางที่ชัดเจน และลดความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยล้มเหลวกลับไปเสพซ้ำ

เป็นช่วงเวลาที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ จะออกจาก Program ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เพื่อรับผิดชอบดูแลตัวเอง โดยผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯสามารถออกไปภายนอกสถานฟื้นฟูฯได้ และสามารถที่จะกำหนดวันเวลาที่จะกลับไปใช้ชิวิตร่วมกับครอบครัวได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ได้ใช้ชีวิตจริงอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด และทางผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯกับผู้ปกครองก็จะสามารถกำหนดระยะเวลาของการกลับไปใช้ชีวิตจริงในครอบครัวได้ตามความเหมาะสม

ระยะที่ 5 ระยะติดตามผล (หลังจากสิ้นสุดโปรแกรม)

  การติดตามผลจะทำหลังจากจบโปรแกรมการฟื้นฟูฯ จะดำเนินการไปจนกระทั่งครบ 7 ครั้ง ใน 12 เดือน เพื่อเป็นการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ให้ผู้ที่ผ่านโปรแกรมการฟื้นฟูฯสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัว สังคม ได้ตามปกติอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มและกิจกรรมในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

TOOLS OF THE HOUSE : กลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

TOOLS OF THE HOUSE

กลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

           การที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ยอมรับในความล้มเหลวของตนเอง และยอมรับในพฤติกรรมด้านลบของตนเอง เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยน จำเป็นต้องอาศัยการโน้มน้าวจูงใจ โดยการใช้กระบวนการกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มนั้นมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งกระบวนการกลุ่มมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในรูปแบบการฟื้นฟูฯ ของ “ ชุมชนบำบัด ” และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถขาดหายได้ในกระบวนการการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด ในทุกรูปแบบ

 1. Motivation Interviewing การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ

เป็นกลุ่มแรกเริ่มของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ที่จะได้มีโอกาสเปิดเผยเรื่องราวต่างๆ ในอดีตของตนเอง เพื่อให้บุคคลอื่นได้รู้จัก และสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เจ้าหน้าที่ ที่ทำการสัมภาษณ์จะสามารถประเมินจิตใต้สำนึกและทัศนคติของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ได้ว่ามีความตั้งใจในการที่จะเข้ารับการฟื้นฟูฯมากน้อยแค่ไหน และมีทัศนคติในทางบวกหรือทางลบต่อครอบครัว ที่่ส่งมาเข้ารับการฟื้นฟูฯ และเป็นกลุ่มที่จะช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจในการเลิกยาเสพติดของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ

 2. Pre Morning Meeting การเตรียมกลุ่มประชุมเช้า

เป็นกลุ่มแรกของวัน ที่จะทำเป็นประจำทุกๆวัน เพื่อให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ เตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตร่วมในวันนั้นๆ และร่วมกันมีส่วนร่วมในการบ่งบอกถึงปัญหาในวันที่ผ่านๆมา และร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเป็นกลุ่มที่มีสำหรับเตรียมความพร้อมที่จะเข้ากลุ่มประชุมเช้าต่อไป

 3. Morning Meeting กลุ่มประชุมเช้า

เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในกระบวนการฟื้นฟูฯ รูปแบบ “ ชุมชนบำบัด ” จัดให้มีขึ้นในทุกๆวัน เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการทางความคิด วุฒิภาวะ การกล้าแสดงออก และภาวะความเป็นผู้นำสมาชิกสามารถแบ่งปันเรื่องราว ที่เป็นประสบการณ์ชีวิตที่ตนเองได้พบเจอ เพื่อเป็นแนวทางให้กับบุคคลอื่น หรือเล่าถึงปัญหาเพื่อให้บุคคลอื่นแบ่งปันแนวทางแก้ไข

 4. Seminar การสัมมนา

กลุ่มสัมมนาในรูปแบบ “ ชุมชนบำบัด ” จะมุ้งเน้นการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก กลุ่มจะมีความผ่อนคลายไม่มีความกดดัน มุ้งเน้นให้สมาชิกใส่ใจซึ่งกันและกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ร่วมกันแก้ไขปัญหา ร่วมกันทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ หรือ ทำให้สถานที่ที่สมาชิกอยู่อาศัยมีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 5. Encounter Group การทำกลุ่มระบายความรู้สึก

เป็นกลุ่มเพื่อให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ พัฒนาตนเองในด้านจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก และเรียนรู้ที่จะควบคุม อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม สมาชิกจะรับรู้อารมณ์ และความรู้สึกของบุคคลอื่น เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองได้กระทำสมาชิกจะเผชิญหน้ากับความจริง กล้าพูดความจริง และกล้าที่จะรับฟังความจริง

 6. General Meeting การประชุมทั่วไป

เป็นการทำกลุ่มย่อยของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ที่ทำเป็นประจำทุกๆวัน เพื่อวางแบบแผนในการทำงาน วางแบบแผนในบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ หรือร่วมกันประเมินผล การพัฒนาด้านต่างๆ ของผู้เข้ารับการฟื้นฟู

 7. Younger Member Group การทำกลุ่มสมาชิกใหม่

การทำกลุ่มของสมาชิกใหม่ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือน เพื่อเพิ่มพื้นฐานแนวทาง ทักษะในการดำเนินชีวิตในสถานฟื้นฟูฯรวมถึงพื้นฐานการทำกิจกรรม การทำงาน การสร้างความสัมพันธ์ และที่สำคัญที่สุดในกระบวนการฟื้นฟูฯ คือการโน้มน้าวจูงใจ ให้สมาชิกมีทัศนคติที่ดี ต่อครอบครัว และสถานฟื้นฟูฯ เพื่อให้สมาชิกยอมรับกระบวนการ การฟื้นฟูฯ และตั้งใจที่จะเรียนรู้พัฒนาตนเอง

 8. Peer Confrontation Group การทำกลุ่มสอบถาม

การไว้วางใจ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การผลักดันเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะเกิดขึ้นในผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ที่มีระยะเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน กลุ่มนี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติ แนวความคิด และพฤติกรรม จากการผลักดัน ช่วยเหลือจากเพื่อนสมาชิกด้วยกัน

 9. Static Group การเข้ากลุ่มคงที่

สมาชิกภายในกลุ่มจะอยู่ร่วมกันตั้งแต่เข้าสู่โปรแกรมการฟื้นฟูฯไปตลอดระยะเวลาของการฟื้นฟูฯ หรือ มีการเจริญก้าวหน้าทางด้านความรับผิดชอบ หรือกลับสู่สังคมก่อนระยะเวลาการจบโปรแกรม ถึงจะออกจากกลุ่มนี้ได้ วัตถุประสงค์ของกลุ่ม สมาชิกภายในกลุ่มจะช่วยเหลือดูแล ผลักดันให้กลุ่มเจริญก้าวหน้าไปพร้อมๆกัน หากใครคนใดคนหนึ่งล้มเหลว สมาชิกที่เหลือจะต้องร่วมกันช่วยแก้ไขปัญหา เสมือนเป็นปัญหาของตนเองกลุ่มจะถูกกำหนดให้มีสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อความใกล้ชิดและผูกพันภายในกลุ่ม 

10. Parent Group : กลุ่มประชุมผู้ปกครอง

การให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูฯเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือผู้    ปกครองจำเป็นจะต้องรับรู้ถึงรูปแบบของโปรแกรมฟื้นฟูฯ และแบบแผนในการฟื้นฟูฯ ของสมาชิก ผู้ปกครองจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ทางด้านอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม รวมถึงการร่วมกันวางแบบแผนระหว่างผู้ปกครอง ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ และเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา เพื่อให้สามารถวางแบบแผนการช่วยเหลือผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ และดำเนินการได้สัมพันธ์กันทั้ง 3 ฝ่าย

11. Religious Therapy : กลุ่มศาสนบำบัด

การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยหลักจิตสังคมบำบัดนั้น จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูจิตใจและจิตวิญญาณควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ในเชิงบวก มีความคิดสร้างสรรค์ มีการดำเนินชีวิตอย่างมีสุข รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี มีการประพฤติตนต่อครอบครัว ต่อสังคม ได้อย่างเหมาะสม 

12. Music Therapy : กลุ่มดนตรีบำบัด

การนำดนตรีและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีมาใช้ประกอบเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดผลในด้านต่างๆ เช่น การปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ การสื่อสารสังคม และอารมณ์ของผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูฯ ให้เกิดการผ่อนคลาย

13. Art Therapy : กลุ่มศิลปะบำบัด 

เป็นการบำบัดจิตใจรูปแบบหนึ่ง ที่ประยุกต์ใช้กิจกรรมทางศิลปะเพื่อการเปิดประตูเข้าสู่จิตใจ ซึ่งจะมีประโยชน์ในด้านการพัฒนาอารมณ์ สติปัญญา สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นการสื่อสาร และเสริมสร้างทักษะทางสังคมอีกด้วย

ศิลปะบำบัดประกอบด้วยรูปแบบกิจกรรมทางศิลปะที่มีความหลากหลาย ครอบคลุมถึง

- ทัศนศิลป์ (Visual Art) ได้แก่ การวาด , ระบายสี , การปั้น , การแกะสลัก ฯลฯ

- การแสดง (Drama) ได้แก่ การแสดง , การละคร , การเคลื่อนไหวร่างกาย

- วรรณกรรม (Literature or Fiction) ได้แก่ บทกวี , นิยาย , เรื่องสั้น ฯลฯ 

HOUSE OF TOOLS : เครื่องมือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

House Of Tools

เครื่องมือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

         นอกจากกลุ่มกิจกรรมที่จะเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังต้องอาศัย กิจกรรม ประจำวัน ช่วยในการแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปควบคู่กัน โดยกิจกรรมประจำวันจะช่วยให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ได้รู้จักตนเอง เห็นตนเอง เพื่อที่จะแก้ไขตนเอง ได้ตรงจุด แก้ไขตนเองได้ตรงตามพฤติกรรมของตนเอง กิจกรรมประจำวัน จะมุ้งเน้น ปัญหา ที่เกิดขึ้น ผลที่เกิดจากการกระทำ และแนวทางการแก้ไขในปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นรายบุคคล ซึ่งจะทำให้เข้าถึงพฤติกรรมของสมาชิกได้อย่างตรงจุด และได้รับคำแนะนำโดยตรงจากเรื่องราวที่เกิดขึ้น 


Talking To

การให้คำแนะนำในข้อบกพร่องเล็กน้อย ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ข้อบกพร่องด้านความรับผิดชอบส่วนตัวทั่วไป ระหว่างสมาชิกกับสมาชิก

Pull Up

การให้คำแนะนำโดยผู้ดูแลสมาชิก เป็นลักษณะข้อบกพร่องที่ควรได้รับคำแนะนำ จากผู้ที่มีประสบการณ์ หรือผู้มีหน้าที่ให้คำแนะนำโดยตรง ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงข้อบอกพร่อง

Deal With

การให้คำแนะนำโดยผู้ดูแลสมาชิก เป็นข้อบกพร่องเล็กน้อย แต่มีผลกระทบ การให้คำแนะนำจะชี้ให้เห็นถึงปัญหาผลกระทบ และแนะนำแนวทางการแก้ไข เพื่อนำไปใช้

Spoken To

การให้คำแนะนำโดยผู้ดูแลสมาชิก ในลักษณะข้อบกพร่องที่เคยเกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่การปรับเปลี่ยนแก้ไข เป็นข้อบกพร่องที่เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตร่วมของบุคคลรอบข้าง รวมถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ผู้ให้คำแนะนำ จะชี้ให้เห็นถึง ปัญหา แต่จะเน้นหนักไปที่ผลกระทบ และแนวทางการแก้ไขปัญหา

HairCut แบ่งเป็น 3 ระดับ

-HairCut การให้คำแนะนำโดยผู้ดูแลสมาชิก และสมาชิกเข้าร่วมในการให้คำแนะนำ อีก 4 คน เพื่อแนวทางการแก้ไขที่หลากหลาย จะเป็นข้อบกพร่องในลักษณะของพฤติกรรมด้านลบ พฤติกรรมที่เป็นตัวตน และข้อบอกพร่อง ซ้ำๆ เดิมๆ โดยจะมุ้งเน้นให้เห็นถึงพฤติกรรมด้านลบ ตัวตน ของผู้เข้ารับคำแนะนำ พร้อมกับผลกระทบ และแนวทางการแก้ไข

-HairCut Point เป็นการให้คำแนะนำในลักษณะเดียวกันกับ H/C แต่ผู้ให้คำแนะนำจะผสมผสานเรื่องของอารมณ์ของผู้ให้คำแนะนำเข้าไปด้วย เพื่อให้ผู้เข้ารับคำแนะนำตระหนักถึงสิ่งที่ตนเองได้กระทำ เพื่อแก้ไขโดยเร่งด่วน ลักษณะข้อบอกพร่องจะเป็นส่วนของพฤติกรรมซ้ำซาก พฤติกรรมด้านลบ พฤติกรรมที่เริ่มส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้นต่อการใช้ชีวิตร่วม

-HairCut Serious การให้คำแนะนำโดยเจ้าหน้าที่ประจำตัว และมีสมาชิกที่มีวุฒิภาวะที่สูงกว่าเข้าร่วมอีก 4 คน ผู้ให้คำแนะนำจะผสมผสานอารมณ์ ความรู้สึก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการให้คำแนะนำ เพื่อให้ผู้เข้ารับคำแนะนำได้รับรู้ว่า สิ่งที่ได้กระทำนั้นเป็นที่ไม่พึงพอใจสำหรับบุคคลอื่น เพราะมีผลกระทบด้านความปลอดภัย ความรู้สึก และการใช้ชีวิตร่วมของสมาชิก จะเป็นข้อบกพร่องในลักษณะ ที่มีผลกระทบรุนแรง มีพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ พฤติกรรมที่บุคคลอื่นไม่สามารถยอมรับได้ หรือสิ่งที่ทำนั้นบุคคลอื่นไม่สามารถรับในการกระทำนั้นได้

Hot Chair

เป็นการควบคุมแนวความคิด ความรู้สึก พฤติกรรม ที่กำลังร้อนรนอยู่ภายใน จนส่งผลกระทบให้ไม่สามารถใช้ชีวิต ร่วมกับบุคคลอื่นได้ และไม่สามารถที่จะพัฒนาตนเองตามแนวทางการฟื้นฟูฯ ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ นั่งเก้าอี้ทบทวนตัวเอง ค้นหาตัวเอง และคิดทบทวนในสิ่งที่ตนเองทำลงไป จนกว่าจะพบหรือยอมรับในสิ่งที่ตนเองกระทำ

House Meeting

เป็นการประชุมของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ และบุคลากรทุกคน ที่อยู่ในศูนย์ฟื้นฟูฯ เพื่อหาข้อสรุปหรือชี้แจง ในเรื่องราวที่ เกิดขึ้นในลักษณะความผิดรุนแรงที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตโดยรวมของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ เช่น การผิดกฎ 4 ข้อ การคิดหนี หรือ หลบหนี รวมถึงการกระทำที่ส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของศูนย์ฟื้นฟูฯ โดยบุคคลที่สามารถเรียกประชุมทั้งบ้านได้ จะต้องมีตำแหน่งสูงสุดในเวลานั้น

Banishment

การขับออกจากโปรแกรมฟื้นฟูฯ จะใช้กับสมาชิกที่มีพฤติกรรมรุนแรง มีความผิดร้ายแรง สุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยของบุคคลรอบข้าง ที่มีทัศนะคติแนวความคิด ที่ไม่เปิดรับกรับกระบวนการของการฟื้นฟูฯ หรือต่อต้านกระบวนการของการฟื้นฟูฯ สมาชิกที่มีพฤติกรรมดังกล่าว จะถูกจำกัดพื้นที่ห้ามพูดคุยกับบุคคลอื่น และงดใช้ กลุ่ม/กิจกรรม เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนกว่าสมาชิกที่มีพฤติกรรมดังกล่าว จะคิดได้ สำนึกได้ ร้องขอที่จะเข้าสู่รูปแบบกระบวนการของการฟื้นฟูฯ อีกครั้ง ทั้งนี้ก่อนจะถึงขั้นตอน Banishment ขับออกจากโปรแกรม ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ จะต้องผ่านกระบวนการต่างๆ ก่อนหน้านี้มาก่อน


หมายเหตุ : Learning Experience เรียนรู้ประสบการณ์

Send คือ การให้การเรียนรู้กับข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นโดยตรง และลงมือทำเพื่อหาทางแก้ไขด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นการใช้ความคิด การพัฒนาความคิด

Spare Part คือ การให้เรียนรู้ด้านการทำงานและความคิดไปควบคู่กันเพื่อให้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น และเกิดการพัฒนาด้านความคิดและลงมือทำเพื่อแก้ไขให้ตรงจุดที่เรียนประสบการณ์

Rimbo คือ การให้ทำงานหนัก เพื่อให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ เห็นถึงความสำคัญในกระบวนการของการฟื้นฟูฯ กลุ่มและกิจกรรม เห็นคุณค่าในการพัฒนาตนเอง ด้านทัศนคติ แนวความคิด และพฤติกรรม 



Self Development : การพัฒนาตนเอง

การพัฒนาตนเอง

ความหมายของการพัฒนาตนเอง (Self – Development)

    การพัฒนาตนเองหรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Self-development คือแนวคิดว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตน หรือให้สอดคล้องกับความคาดหวังของสังคม ซึ่งมีนิยามความหมายที่ค่อนข้างหลากหลาย ดังนี้

ความหมายที่ 1: การพัฒนาตนคือการที่บุคคลพยายามที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนด้วยตนเองให้ดีขึ้น

กว่าเดิมเหมาะสมกว่าเดิม ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรม แสดงพฤติกรรม เพื่อสนองความต้องการ แรงจูงใจ หรือเป้าหมายที่ตนตั้งไว้

ความหมายที่ 2: การพัฒนาตนคือการพัฒนาศักยภาพของตนด้วยตนเองให้ดีขึ้นทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สังคม เพื่อให้ตนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคม เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ตลอดจนเพื่อการดำรงชีวิตอย่างสันติสุขของตน

สำหรับการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นบุคคลที่มีศักยภาพและมีความสามารถนั้น เราต้องการพัฒนาความ “เก่ง” ในสามด้านด้วยกัน

1) เก่งตน คือ การเป็นผู้หมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อให้รู้เท่าทันคนอื่น และรู้เท่าทันโลก มีความประพฤติ การแสดงออกทางวาจาและอารมณ์ที่เหมาะสม มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีความกระตือรือร้น เป็นต้น

2) เก่งคน คือ คนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มีพื้นฐานความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีตั้งแต่ในระดับครอบครัว เพื่อนฝูงความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน คนประเภทนี้จะเป็นที่รักและเอ็นดูของคนทั่วไป สามารถเข้าสังคมได้ง่ายและเมื่อมีปัญหาก็มีผู้อื่นยินดีให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ

3) เก่งงาน คือ คนที่ได้มีการศึกษาและรู้สึกรู้กว้างเกี่ยวกับขอบเขตที่ตนเองทำ เป็นผู้ที่รักและขยันในการทำงาน มีความมุมานะและอุตสาหะ ทุ่มเทให้กับการทำงาน คนประเภทนี้จะเป็นคนที่เจ้านายมีความเชื่อใจและมีคุณค่าสำหรับองค์กรสูง

โดยสรุป การพัฒนาตนเองเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในตัวเราในทางที่ดีขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วาจา และความคิด ที่มีผลต่อความสัมพันธ์ในระดับบุคคลและผลของการทำงาน

 

การพัฒนาตนเอง ในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบ “ชุมชน บำบัด”

Self Help: กิจกรรมเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือตัวเอง

     การดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกันของบุคคลเพื่อให้ปกติสุข แต่ละบุคคลจำเป็นต้องมีทักษะการดำเนินชีวิต เช่น ความสามารถในการปรับตัว การมีสติ รับรู้ตนเอง รับรู้และเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น

      กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนย่อมมีสัญชาตญาณโดยกำเนิด ทำให้มีความรู้สึกและการกระทำได้เอง โดยไม่ต้องให้มีใครมาสั่งสอน และการกระทำจะต้องยึดหลักปฏิบัติ ที่ถูกต้องเหมาะสม ในกฎเกณฑ์ของ สังคม ประเพณี ธรรมเนียม และวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดแนวทางปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับของสังคม และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ

      กิจกรรมประกอบการพัฒนา “การเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือตัวเอง” (Self Help) ในกระบวนการ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รูปแบบ “ชุมชน บำบัด” ประกอบไปด้วย 9 กิจกรรม ดังนี้

1.  การบันทึกและรายงาน

2.  การสำรวจตัวเอง

3.  การตั้งเป้าหมายในชีวิต

4.  การปฏิเสธ

5.  การควบคุมตนเอง

6.  การสร้างแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์

7.  การแก้ไขปัญหา

8.  การสื่อสาร

9.  การสร้างวินัยให้ตนเอง


กลุ่มประกอบการพัฒนาตนเอง: Static Group (กลุ่มคงที่)

    สมาชิกภายในกลุ่มจะอยู่ร่วมกันตั้งแต่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูฯ ในตลอดระยะเวลาของการฟื้นฟูฯ หรือมีการปรับเปลี่ยนตามวุฒิภาวะความเจริญก้าวหน้าทางด้านความรับผิดชอบ หรือกลับสู่สังคมก่อนระยะเวลาจบโปรแกรม วัตถุประสงค์ของกลุ่ม สมาชิกภายในกลุ่มจะช่วยเหลือ ดูแล ผลักดันให้กลุ่มเจริญก้าวหน้าไปพร้อมๆ กัน โดยใช้กระบวนการ Self Help ช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม

 

Self to Self Help: การบอกสอน การถ่ายทอดประสบการณ์

    หลังจากผ่านกระบวนการ Self Help และสามารถใช้กระบวนการต่างๆ ในการดูแลตนเองได้แล้วจะต้องพัฒนาตนเองเข้าสู่กระบวนการ Self to Self Help. เพื่อฝึกกระบวนการให้เกิดเป็นนิสัย Act As If. และสามารถใช้กระบวนการต่างๆ ช่วยเหลือผู้อื่นได้.

    การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ การเปลี่ยนแปลงแนวความคิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จะต้องอาศัยการปรับตัว และจะต้องมีคนคอยชี้นำ เพื่อให้เกิดการดำเนินชีวิตการกระทำต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของสังคมใหม่ ที่แตกต่างจากสังคมเดิม การเปลี่ยนแปลงแนวความคิด และพฤติกรรม จำเป็นจะต้องอาศัย ต้นแบบ แบบอย่างในการปรับเปลี่ยน (Role Model) ให้เกิดความเชื่อ ว่าสิ่งต่างๆที่ทำใน “ชุมชน บำบัด” สามารถที่จะแก้ไข และปรับเปลี่ยน การดำเนินชีวิต แนวคิด พฤติกรรม ไปในทางที่ดีได้

 

Self to Self Help ในชุมชนบำบัด จึงจำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ

    ตัวต่อตัว: Man to Man เป็นการดูแลโดยใช้พี่เลี้ยงประกบ (Big Brother) ที่จะคอยดูแลช่วยเหลือ แนะนำ ในทุกๆ ด้าน โดยพี่เลี้ยง จะได้เรียนรู้กระบวนการ Self to Self Help และน้องเลี้ยง จะได้เรียนรู้กระบวนการ Self Help เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในกระบวนการ Self Help เกิดการปรับตัว ตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และการดำเนินชีวิตในรูปแบบที่แตกต่างจากสังคมเดิมพี่เลี้ยงจะต้องกระทำตัวเป็นแบบอย่างในทุกด้าน (Role Model) เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ และเกิดการกระทำตามแบบอย่าง การบอกสอนในลักษณะ “ตัวต่อตัว” (Man to Man) จะเกิดกระบวนการ การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเกิดการพัฒนาตนเอง ในลักษณะที่แตกต่างกัน

        

     กลุ่ม:Group ในโปรแกรม “ชุมชน บำบัด” ให้ความสำคัญในกิจกรรมกลุ่มเป็นอย่างยิ่ง เหตุเพราะกิจกรรมกลุ่มต่างๆ จะช่วยแก้ไขผลักดันและให้กำลังใจได้หลากหลายแง่มุมที่แตกต่างกันตามประสบการณ์จริงของแต่ละบุคคล ที่สำคัญกลุ่มจะช่วยให้เห็นตัวเองจากการสะท้อนของบุคคลอื่น (We are  Such Mirror) “เสมือนเห็นตัวเองในกระจก” และเกิดการเรียนรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยใช้คนที่ปรับเปลี่ยนแก้ไขได้สำเร็จ เป็นต้นแบบ

ลักษณะกลุ่มใน Self to Self Help จำแนกเป็น 2 ลักษณะ

     -  กลุ่มแบบเป็นทางการ:Formal Group การจัดกลุ่มจะต้องใช้สถานที่ที่เหมาะสมมีการจัดโต๊ะ จัด-เก้าอี้ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตามลักษณะของกลุ่มต่างๆ ผู้นำกลุ่มจะต้องมีภาวะความเป็นผู้นำ และความน่าเชื่อถือ. เพื่อให้เกิดการยอมรับของสมาชิกในกลุ่ม

ข้อกำหนดของกลุ่มแบบเป็นทางการ

  1.กำหนดหัวข้อ เพื่อให้กลุ่มดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

  2.การแนะนำตัว เพื่อให้บุคคลในกลุ่ม รู้จักกันมากขึ้น และไว้วางใจซึ่งกันและกัน

  3.เพื่อนร่วมทาง ซึ่งจะมี 2 ส่วน  คือ 

   3.1 ครอบครัว คือ คนที่คอยดูแล ช่วยเหลือ ในค่าใช้จ่าย 

  3.2 ภายในสถานฟื้นฟูฯ คือ เจ้าหน้าที่ ที่คอยช่วยเหลือ ในทุกๆด้าน

      -  กลุ่มแบบไม่เป็นทางการ: Informal Group การพุดคุยให้คำปรึกษา โดยไม่ได้กำหนดหัวข้อในการเข้ากลุ่ม แต่มุ้งเน้นแนวทางการช่วยเหลือ การแก้ไขปัญหา การผลักดัน ให้เกิดการปรับเปลี่ยน ไปในทิศทางที่ดี ใช้พลังกลุ่มให้เกิดการผลักดัน (Peer Pressure Group) การแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ และปรับเปลี่ยน พฤติกรรม

        กลุ่มทั้ง 2 รูปแบบ จะมุ้งเน้นไปที่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเข้าใจซึ่งกันและกัน และผลักดันให้แก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทิศทางที่ถูกต้องร่วมกันในนิยาม “เราจะเจริญก้าวหน้าไปพร้อมๆ กัน”

 

Self Help Discovery: การค้นพบตนเอง

    หลังจากที่ผ่านกระบวนการ Self Help และ Self to Self Help แล้วทุกสิ่งที่ทำในกระบวนการฝึกฝนจนเกิดเป็นนิสัยประจำตัว และใช้กระบวนการทางความคิด (Thinking) สามารถบอกสอนตัวเองได้ สามารถกำหนดพฤติกรรมตัวเองได้ จนทำให้รู้จักตนเองมากขึ้น

    - แนวทางการค้นพบตนเอง โดยการสอบสวนตัวเอง ทบทวนตัวเอง และการยอมรับในสิ่งที่บุคคลอื่นสะท้อนให้เห็น หรือเห็นบุคคลอื่น แล้วนำมาเปรียบเทียบกับตนเอง จนทำให้เกิดการรู้จักตนเอง และเข้าใจตนเองมากขึ้น


สิ่งที่ได้รับจากการค้นพบตนเอง

    “รู้จักตัวเอง” การที่ได้รู้จักตัวเอง ว่าตนเองมีคุณค่ามีศักยภาพ และมีวุฒิภาวะมากน้อยแค่ไหน จนทำให้สามารถประเมินสิ่งต่างๆ และลงมือทำทุกอย่างให้อยู่บนความพอดี ความเป็นไปได้ โดยที่ไม่คาดหวังหรือลงมือทำสิ่งต่างๆ ที่เกินความเป็นจริง ส่งผลให้เกิดความสุขในสิ่งที่ทำ และสิ่งที่ทำนั้นจะเกิดคุณค่าแก่ตนเอง

    “รู้จักหน้าที่” ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน จะรู้ว่ามีอะไรที่ต้องทำ ทำแล้วจะเกิดประโยชน์อะไร การรู้จักหน้าที่ จะทำให้สามารถกำหนดความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างเหมาะสม และลงมือทำทุกอย่างที่เป็นหน้าที่ของตนเองโดยไม่ต้องรอให้ใครมาสั่งหรือบังคับการทำหน้าที่ของตนเอง ก็จะมีความสุข และเกิดคุณค่าในสิ่งที่ทำ

    “รู้ว่าตนเองเป็นใคร” การให้คำตอบกับตนเองได้ว่า ตัวเราเองเป็นใคร มีภาวะใดในสถานที่ต่างๆ จะทำให้เกิดการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพ มีวุฒิภาวะ และสามารถวางตัววางบทบาท ของการดำเนินชีวิต ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมในสังคม ส่งผลให้การใช้ชีวิตในแต่ละวัน จะหาความสุขได้ในสังคมที่กำลังดำเนินชีวิตอยู่

    - ผลของการค้นพบตนเอง คือการมีความสุขที่แท้จริงในชีวิต เพราะจะทำให้สิ่งที่ทำมีคุณค่า รู้ว่าตนเองต้องทำอะไร รับผิดชอบอะไร ประเมินสิ่งที่ต้องทำได้ สุดท้ายส่งผลให้รู้เท่าทันตนเอง ทำให้เกิดการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ในครอบครัว ในสังคม รู้จักการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต และระมัดระวังในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้มี “อิสรเสรี” ในการดำเนินชีวิต 

ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน

และการพัฒนาคุณภาพบุคลากร

ภาพกิจกรรมทางสังคม

สภาพแวดล้อมโดยรวม

บุหรี่...ภัยร้ายใกล้ตัวที่คุณมองข้าม

บุหรี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ประชากรของประเทศไทยจำนวนมากเป็นโรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ

บุหรี่ถือเป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่งอยู่ในรูปแบบสิ่งถูกกฎหมาย มีขายตามร้านค้าทั่วไป แต่ใครจะคิดว่าภัยอันตรายไม่น้อยกว่าสิ่งเสพติดอื่นๆ  อ่านต่อ คลิก..ที่นี่